"กลับสู่โลกสมมุติ" ซึ่งถือเป็นอีกบริบทของแวดวงวรรณกรรมไทยที่จะช่วยให้คำตอบเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ เชื่อมโยงกับทัศนคติของคนรุ่นก่อนได้อย่างน่าค้นหา นับแต่เรื่องสั้นที่กล่าวถึงมุมสะท้อนระหว่างความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวกับนักเขียนซึ่งมีหน้าที่สรรค์สร้างตัวละครให้โลดแล่นอยู่ในหน้ากระดาษ บางเรื่องชี้ให้เห็นการกระทำอันเลวร้ายจากผู้กระทำคนหนึ่ง ผลักดันให้ผู้ถูกกระทำต้องตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย บีบบังคับให้กลายเป็นผู้ถูกกระทำเสียเอง ขณะที่บางเรื่องกล่าวถึงความรักและทัศนคติของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีต่อนิสิตสาว แม้จะเป็นความรักที่บริสุทธ์ แต่สุดท้ายเขาก็อดที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตเธอไม่ได้ เช่นเดียวกับคณาจารย์และสถาบันการศึกษาที่ตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับนิสิตสาวเช่นกัน ขณะที่ส่วนท้ายของหนังสือยังควบรวมเรื่องราวทางการเมืองซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมตั้งคำถามต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งความหวังต่อปรากฏการณ์เหล่านั้น หรือผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในฐานะที่การเมืองคือหนึ่งในประเด็นสำคัญทางสังคมก็ตาม นับเป็นอีกรวมเรื่องสั้นคุณภาพที่สะท้อนความเป็นจริงที่มิใช่แค่สังคมเท่านั้น แต่ทว่าเจาะลึกไปถึงความคิด ความรู้สึก มุมมอง และทัศนคติของคนร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี