ความบันเทิง ไม่ใช่มีเพียงแต่ความสนุกเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองจากรัฐ ใช่ว่าจะมีแต่เพียงรัฐที่จะใช้ได้เท่านั้น ประชาชนก็สามารถใช้ได้ โดยนำไปใช้เคลื่อนไหวทางสังคม ตามเจตนารมย์ที่ตนต้องการความบันเทิงดังกล่าวก็คือ "เพลงดนตรีและการละคร"
"เพลงดนตรีและการละคร" ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มีทั้งแบบทางการ ที่รัฐเป็นผู้ผลิตขึ้นมา เราอาจเรียกว่า "วัฒนธรรมป๊อปแบบทางการ" กับแบบที่ไม่ใช่แบบทางการ เป็นแบบที่ชาวบ้านหรือนายทุนทำขึ้นมา คือวัฒธรรมป๊อปแบบไม่ทางการ แต่วัฒนธรรมป๊อป ทั้งสองก็ล้วนมีพลังขับเคลื่อนไม่แพ้กันทั้งหมดทั้งมวล มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือเล่มนี้ โดย อติภพ ภัทรเดชไพศาล ซึ่งเป็นทั้งนักแต่งเพลงและนักเขียน เกิดความสงสัย และตั้งคำถามถึงเพลงดนตรีและการละคร ในสยามประเทศไทยว่า ทำไมเพลงบางเพลงถึงทรงพลังจนถึงทุกวันนี้? อะไรคือความหมายของเพลงนั้นๆ หรือการแย่งชิงพื้นที่ทางวัฒนธรรม การสื่อสารทางความคิด ผ่านบทเพลงและการละคร